Vertical Garden 2

มาทำสวนแนวตั้งกัน !

หาก เราได้เข้าไปในศูนย์การค้า หรือแหล่งการค้าที่ทันสมัยเราจะพบรูปแบบการปลูกพืชที่แตกต่างไปจากความคุ้นชินที่เราๆเคยทำกันมา การปลูกพืชที่อยู่ในแนวตั้ง (แนวดิ่ง) ที่สามารถปลูกได้ทั้งไม้ดอกไม้ประดับ หรือ แม้เป็นพืชที่มีสายพันธ์ที่ให้รูปแบบ(form) ที่แปลกตา  หรือแม้แต่พืชผักสวนครัวที่สามารถเป็นอาหารได้ สร้างสรรบรรยากาศและความสบายตาได้ไม่น้อยเลยทีเดียว
ในปัจจุบันการปลูกสวนแนวตั้ง มีหากหลายเทคนิคและ หลากหลายรูปแบบ  ผมขออธิบายรูปแบบการทำสวนแนวตั้งอย่างคร่าวๆ ดังนี้

สวนอาหารสุภัทรา ริเวอร์ เฮ้าส์

การทำสวนแนวตั้งด้วยผ้าสักหลาด หรือ ระบบ felt fabric
เป็นระบบที่อาศัยการนำผ้าสักหลาด  หรือวัสดุผ้าอัดที่มีความสามารถดูดซับน้ำ มาทำการเย็บเป็นช่อง หรือเย็บเป็นกระเป๋าต่อเนื่องกันตลอดทั้งผืน เพื่อเป็นช่องปลูกต้นไม้ต่างๆตามต้องการ ระบบนี้ไม่ค่อยนิยมการปลูกด้วยดินธรรมชาติ แต่นิยมใช้ปุ๋ยน้ำละลายในน้ำตามอัตราส่วนที่กำหนดแล้วใช้ระบบปั๊มน้ำทำการสูบขึ้นไปรดต้นไม้ด้านบนสุดและให้น้ำไหลซึมลงมาด้านล่าง ต้นไม้สามารถเติบโตและอยู่รอดได้โดยอาศัยปุ๋ยที่ละลายอยู่ในน้ำที่รดต้นไม้

ข้อเด่นของระบบนี้ คือ ความสามารถในการปลูกต้นไม้ในทุกๆพื้นผิวไม่ว่าจะมีแนวดิ่วแนวโค้งอย่างไร ระบบนี้สามารถห่อหุ้มและยึดตรึงกับผนังได้อย่างลงตัว และแนบเนียน
ข้อด้อยของระบบนี้ คือ การปลูกต้นใหม่ทดแทนต้นไม้เดิม จะทำได้ยุ่งยากและเกิดความเสียหายต่อตัวผ้าสักหลาด เนื่องจากรากต้นไม้เดิมจะชอนไชเข้าสู่เนื้อผ้าหรือเนื้อผ้าสักหลาด เมื่อต้องการถอนต้นไม้ดังกล่าวจะเกิดความเสียหายต่อเนื้อผ้าและ ยากลำบากต่อการซ่อมแซม และเนื่องจากผ้าสักหลาดจำเป็นต้องยึดตรึงกับพื้นผิวผนัง จึงอาจเกิดความชื้นซึมผ่านจากผนังสวนแนวตั้งด้านนอกเข้าสู่ผนังชั้นใน เป็นสาเหตุของการเกิดเชื้อราที่ผนัง หรือสีผนังด้านในลอกร่อนเรื่องจากความชื้น

การทำสวนแนวตั้งด้วยระบบกระถางหรือกะบะปลูก
เป็นระบบที่ใช้กระถางน้ำหนักเบาเข้ายึดตรึงกับโครงสร้างเสริมที่เตรียมไว้เป็นช่อง หรือเป็นเบ้าเสียบ เพื่อรองรับการปลูกต้นไม้ในแนวตั้ง เป็นระบบที่สามารถปลูกพืชได้หลากหลายชนิดเนื่องจากสามารถปลูกได้ด้วยดินธรรมชาติ

สวนอาหารสุภัทรา ริเวอร์ เฮ้าส์

ข้อด้อยของการปลูกสวนแนวตั้งด้วยวิธีนี้
คือแนวผนังจำเป็นต้องมีระนาบเดียวกัน หรืออาจมีส่วนโค้งบ้างเล็กน้อยและต้องเป็นส่วนโค้งในแนวเดียว ซึ่งการปลูกสวนแนวตั้งด้วยรูปแบบนี้ไม่สามารถห่อหุ้มผิวผนังได้อย่างแนบเนียนเหมือนกับรูปแบบผ้าสักหลาด (หรือแบบFelt Fabric)  อีกหนึ่งข้อด้อย คือ การที่จะต้องมีโครงสร้างเสริมเพื่อรับกับกระถาง โครงสร้างเสริมนี้หากไม่ได้ผลิตด้วยวัสดุไร้สนิมทนความชื้น ก็อาจผุกร่อนได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว เนื่องจากต้องสัมผัสน้ำที่รดต้นไม้อยู่เสมอๆ และอาจต้องเสียเงินเพื่อซ่อมแซ่มให้กลับมาแข็งแรงอยู่เนืองๆ

สวนอาหารสุภัทรา ริเวอร์ เฮ้าส์

ข้อดีของการปลูกสวนแนวตั้งด้วยวิธีนี้
ระบบการปลูกสวนแนวตั้งด้วยกระถางนี้ไม่ได้สัมผัสกับผิวผนังโดยตรง ยังคงมีช่องเปิดระหว่างผนังกับแนวการปลูกต้นไม้ ลดโอกาสในการส่งผ่านความชื้น และการเกิดความชื้นสะสมในผนัง การปลูกต้นไม้ใหม่ก็สามารถทำได้ง่ายเนื่องจากต้นพืชถูกปลูกในกระถางหรือกะบะ  เพียงสลับสับเปลี่ยนกับกระถางที่ทำการอนุบาลต้นไม้ไว้ก่อนก็สามารถทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็วกว่า และด้วยการถอดสลับสับเปลี่ยนตำแหน่งเราสามารถเล่นสี และลวดลาย กับต้นไม้หลากสี สลับสับเปลี่ยนตามเทศกาลหรือตามแบบที่ต้องการได้โดยไม่ยากเย็น กระถางบางยี่ห้อถูกออกแบบมาให้มีส่วนกักเก็บน้ำไว้เพื่อลดการรดน้ำต้นไม้ และประหยัดน้ำในการรดน้ำอีกด้วย จึงเป็นอีกหนึ่งข้อดีที่ทำให้ระบบการปลูกสวนแนวตั้งแบบกระถางได้รับความนิยมมากขึ้น


เป็นอย่างไรบ้างครับกับความรู้เบื้องต้น ในการใช้ประโยชน์จากผนัง หรือ แนวกำแพงเพื่อสร้างพื้นที่สีเขียวสบายตา พร้อมทั้งเพิ่มบรรยากาศความร่มรื่น เย็นสบายให้แก่บริเวณอาคาร ผมหวังว่าผู้รักบ้านทุกท่านคงเริ่มเกิดไอเดียในการสร้างสรรพื้นที่สีเขียวให้มากขึ้นครับ

http://www.kreenplus.com
https://www.facebook.com/kreenplus
https://www.instagram.com/kreenplus

คุณเกียรตินันท์ วิจิตรประไพ (ให้สัมภาษณ์)

โดย คุณเกียรตินันท์  วิจิตรประไพ

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม